ข่าวและกิจกรรม มศว
ข่าวและกิจกรรม มศว
18 April 2024
Home  

  Web Help
Login
 
Buasri ID
Password
 
ข่าวและกิจกรรม มศว
Web Hosting
แนวปฏิบัติสำหรับเว็บไซต์
แนวปฏิบัติ-เว็บภาษาต่างประเทศ
พื้นฐานเบื้องต้นสำหรับเว็บไซต์
เว็บไซต์หน่วยงาน
บริการเว็บหน่วยงาน


Web Help
แนวปฏิบัติและมาตรฐานสำหรับเว็บไซต์ มศว

แนวปฏิบัติและมาตรฐานที่ปรากฏในเอกสารนี้เป็นคำแนะนำที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ดูแลเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้ใช้เป็นแนวทางในการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ของหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย มิใช่เป็นกฎข้อบังคับ โดยแนวปฏิบัติและมาตรฐานที่กำหนดไว้ในที่นี้จะครอบคลุมถึงการสร้างเว็บไซต์ การจัดโครงสร้าง การจัดวาง เทคโนโลยี รวมทั้งการจัดทำเนื้อหาสำหรับเว็บไซต์ที่เป็นทางการของมหาวิทยาลัย
 

องค์ประกอบที่สำคัญของเว็บไซต์

ชื่อของมหาวิทยาลัย

  • เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒควรจะต้องแสดงชื่อของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒบนหน้าโฮมเพจของเว็บไซต์ และในหน้าย่อย ๆ รองลงมาตามลำดับเท่าที่เป็นไปได้

ตราของมหาวิทยาลัย

  • เว็บไซต์ควรจะมีตราสัญลักษณ์ปรากฏอยู่ที่โฮมเพจ

ลิงค์กลับมาที่โฮมเพจของมหาวิทยาลัย

  • เว็บไซต์ควรมีลิงค์ที่จะพากลับไปยังหน้าโฮมเพจของมหาวิทยาลัย นั่นคือ www.swu.ac.th

วันที่ปรับปรุงล่าสุด

    เว็บเพจที่มีเนื้อหาที่สำคัญและจำเป็นต้องมีการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอนั้น ควรจะได้มีการระบุวันที่ที่ปรับปรุงล่าสุดไว้ด้วย

ข้อมูลติดต่อกลับผู้ดูแลเว็บ

  • เว็บไซต์ควรจะมีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ดูเว็บไซต์เพื่อให้ผู้ที่เข้าเยี่ยมชมสามารถติดต่อกลับได้

นโยบายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์

  • ที่ด้านล่างของเว็บไซต์ควรมีข้อความระบุเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย โดยอาจจะระบุปีด้วย ดังตัวอย่าง

    Copyright ©2004 Srinakharinwirot University. All rights reserved.

  • ผู้ดูแลเว็บจะต้องให้ความระมัดระวังในเรื่องลิขสิทธิ์ของเนื้อหา ไฟล์ข้อมูล หรือ รูปภาพที่มีลิขสิทธิ์ ไม่ควรนำมาใช้หากมิได้รับอนุญาต

ข้อกำหนดเกี่ยวกับการตั้งชื่อ

การตั้งชื่อและลงทะเบียนชื่อเว็บไซต์

  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้จดทะเบียนชื่อโดเมนไว้ว่า swu.ac.th ดังนั้นเว็บไซต์ของหน่วยงานต่าง ๆ สามารถกำหนดชื่อของเว็บไซต์ภายใต้ swu.ac.th ดังตัวอย่าง facultyname.swu.ac.th หรือ departmentname.facultyname.swu.ac.th ชื่อที่ใช้ควรจะเป็นคำสั้น ๆ ที่สามารถสื่อความและจำได้ง่าย การจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์สามารถดำเนินการได้โดยไปที่ webhelp.swu.ac.th

การตั้งชื่อไฟล์

  • โฮมเพจของเว็บไซต์มักจะมีชื่อไฟล์ว่า index.html, index.htm, หรือ default.htm. ส่วนในเพจอื่น ๆ ในเว็บไซต์ควรตั้งชื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาของเว็บเพจนั้น เพื่อความสะดวกในการดูแลเว็บไซต์ ชื่อไฟล์นั้นไม่มีการเว้นวรรค และไม่ใช้ตัวอักขระพิเศษ ตัวอักษรที่ใช้ควรเป็นตัวเล็กทั้งหมด (lowercase)

การตั้งชื่อไดเร็กทรอรี่

  • ใช้ชื่อที่สอดคล้องกับเนื้อหาในไดเร็กทรอรี่ หรือ โฟลเดอร์

การจัดโครงสร้างไฟล์และไดเร็กทอรี่

  • โครงสร้างของไดเร็กทรอรี่ควรจัดให้เป็นระบบเพื่อให้สะดวกในการดูแล ไฟล์ภาพควรจัดเก็บแยกไว้ในโฟลเดอร์ชื่อ images เป็นต้น ควรมีโฟลเดอร์สำหรับการจัดเก็บเนื้อหาในกรณีที่มีไฟล์ประกอบที่เกี่ยวข้องหลาย ๆ ไฟล์

รูปแบบหน้าตาของเว็บไซต์

  • เว็บไซต์ไม่ควรมีกราฟิกและลูกเล่นมากจนเกิน เพราะจะทำให้ใช้เวลานานในการเรียกข้อมูล ผู้ใช้โดยทั่วไปมักจะต้องการให้สามารถเข้าถึงเนื้อหาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้
  • รูปแบบการจัดวางและกราฟิกของเว็บเพจควรจะคงเส้นคงวาและสอดคล้องกันทั้งเว็บไซต์
  • พึงระลึกเสมอว่าขนาดภาพกราฟิกที่ใหญ่เกินไปจะทำให้เหลือพื้นที่น้อยลงสำหรับบรรจุเนื้อหา และทำให้ต้องใช้เวลานานในการดาว์นโหลดภาพ สำหรับแถบภาพด้านบนนั้นอาจจะตัดเป็นภาพชิ้นเล็ก ๆ หลาย ๆ ชิ้น จะช่วยให้โหลดภาพได้เร็วขึ้น

กราฟิกส์และภาพ

  • ภาพกราฟิกต้นแบบที่มีแลเยอร์ ได้แก่ Photoshop psd หรือ Illustrator eps ควรจัดเก็บไว้ให้ดีเพื่อให้สามารถนำมาปรับแต่งในเว็บไซต์ได้อีกในภายหลังตามต้องการ
  • โดยปกติภาพที่กราฟิกแบบอาร์ตเวิร์คจะนิยมเก็บเป็นไฟล์ gif ส่วนภาพถ่ายจะนิยมเป็นไฟล์ jpg
  • ไฟล์ gif ควรจะทำการบีบอัด (compress) ให้ขนาดเล็กลงเพื่อลดเวลาการโหลดภาพลง
  • รูปภาพควรจะมีการกำหนดขนาดความกว้าง (width) และความสูง (height) ใน image tag ด้วย จะช่วยให้โหลดได้เร็วขึ้น
  • รูปภาพที่มีขนาดใหญ่มากอาจจะใช้วิธีการตัดแบ่งเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาประกอบใหม่โดยใช้ตาราง html
  • สำหรับภาพใหญ่อาจจะใช้อีกทางเลือกหนึ่งในการแสดงภาพ โดยการทำเป็นภาพเล็ก (thumbnail image) ซึ่งเป็นลิงค์เพื่อไปเพจที่ใช้แสดงภาพขนาดใหญ่
  • ภาพที่ใช้ควรจะสัมพันธ์สอดคล้องกับเนื้อหา

ฟอนต์

  • ควรจะมีการกำหนดรูปแบบและขนาดของฟอนต์ เพื่อให้มองดูสอดคล้องกันตลอดทั้งเว็บไซต์

การสั่งพิมพ์เว็บเพจ

  • ถ้าหากต้องการให้ผู้ใช้สามารถพิมพ์เว็บเพจโดยใช้คำสั่ง Print จากเมนู File ของฺ Browser ควรจะจำกัดขนาดของตารางไว้ที่ประมาณ 660-680 pixels และทดสอบการพิมพ์ให้ถูกต้องก่อน หรือ อาจจะจัดให้มีลิงค์สำหรับ "printer-friendly version" ซึ่งจะเป็นเพจที่เป็นเพียงข้อความ

การนำเสนอแบบเฟรม

  • เนื่องจากการนำเสนอเว็บในรูปแบบเฟรมจะทำให้เกิดประเด็นปัญหาในการจัดทำดัชนีของ Search engine และเป็นปัญหาในเรื่องการทำ bookmark ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้เฟรม

แถบการเชื่อมโยง

  • แถบการเชื่อมโยง (navigation bar) ที่ใช้ในเว็บไซต์ควรเป็นแบบเดียวกันตลอดทั้งไซต์ ในการออกแบบแถบเชื่อมโยงในแต่ละเพจควรจะคำนึงถึงคำถามต่อไปนี้
    • ขณะนี้ฉันอยู่ที่หน้าใด
    • ฉันมาถึงที่นี่ได้จากหน้าใด
    • จากหน้านี้ฉันสามารถไปที่ไหนต่อได้บ้าง
  • ทุกเว็บเพจในเว็บไซต์ควรจะมีลิงค์กลับไปยังหน้าโฮมเพจของไซต์เสมอ
 
ข่าวและกิจกรรม มศว